ขั้นตอนการปูแอสฟัลท์คอนกรีต?

 

image017

1 สเปร์ยน้ำยา CRS2 / Tack coat ลงบนผิวทาง rigid surface ทิ้งไว้ 15-30 นาทีด้วย Asphalt sprayer หรือหากเป็นพื้นหินคลุก ให้ใช้น้ำยา prime coat CSS1 โดย ใช้รถสเปร์ยยาง หรือ Hand spray ขึ้นอยู่กับหน้างาน

image005
image007
  1. ปูแอสฟัลท์คอนกรีต ความหนาที่กำหนด (ปูมือ)หรือ Asphalt paver (ตามสเป็กงาน)
    สำหรับพื้นที่ที่ไม่ได้รับน้ำหนักมาก หรือรถ4-6ล้อ ทั่วๆไป ตามมาตรฐานสามารถปูความหนาได้ที่ 0.05m
    หากเป็นพื้นที่ที่รับโหลดน้ำหนักเยอะ แนะนำปูความหนาตั้งที่ 0.06m ขึ้นไป
    สำหรับการปูความหนามากกว่า 0.07-0.1m ให้ปู 2 ชั้น และบดอัดทั้ง 2 ชั้น

    สำหรับชนิดของเม็ดหิน(gradation)ที่ใช้ ขอให้ทางบริษัทฯเป็นผู้กำหนดตามความเหมาะของการใช้งานในแต่ละโครงการ
image011
  1. บดอัดด้วยเครื่องจักร รถบดสั่นสะเทือน และ รถบดล้อยาง (ตามสเป็กงาน)โดยใช้รถบดน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 4 ตัน ในการปูพื้นที่ที่ไม่ได้รับน้ำหนักเยอะ ใช้รถบดน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 7 ตัน สำหรับพื้นที่ที่รับน้ำหนักเกิน 30 ตันขึ้นไปและต้องมีรถบดล้อยางเสมอ
image013
image015
  1. สำหรับพื้นที่ที่รับน้ำหนักมากเป็นพิเศษ หรือมีการบิดตัวของยานยนต์ขนาดใหญ่เยอะ สามารถลดความเสียหายของพื้นผิวถนนได้ โดยการสาดทรายบนผิวของวัสดุ หรือสามารถปล่อยให้ใช้งานได้ตามปกติ และบดอัดด้วยรถบดล้อยางต่อเนื่องวันละ 1-2 ชั่วโมง เป็นเวลา 2-3 วัน หลังปูแอสฟัลท์เสร็จ

  2. การตีเส้นจราจร สามารถตีได้ใน 1-2 วันถัดไปหรือถ้าจะให้ดี ควร 7 วันขึ้นไป หลังจากเสร็จขั้นตอนการบดอัดเพื่อให้ยางแห้งดี
image017
 

การเซ็ทตัวของยาง

หลังจากที่ปูผิวจราจรแล้ว ควรปล่อยให้มีการใช้งานตามปกติ ในบริเวณที่มีการบิดล้อรถ จะมีรอยยาง หรือฝุ่นที่มีขนาดละเอียดตามผิวถนน ให้ปล่อยใช้ถนนตามปกติ รอยต่างๆจะหายเองภายใน 15 – 30 วัน หรือการสาดทรายบนผิวถนนแอสฟัลท์ สามารถช่วยลดแรงบิดของล้อที่จะเกิดขึ้นได้

ไม่ควรปิดถนนเพื่อรถให้ถนนเซ็ทตัว เนื่องจากใช้เวลานานมาก หากใช้งานไปแล้วมีรอยที่ต้องการให้แก้ไข ควรรอหลังจาก 1 เดือนเป็นต้นไปหลังเปิดใช้งาน

978954
978955
978957

สาดทราย เพื่อรักษาพื้นผิววัสดุ

978960

หากปิดพื้นที่มานาน แล้วมีการใช้งานRecompact หลังปูเสร็จ 30 วัน หลังพื้นที่เปิดใช้

 

การรับประกันผลงาน

บริษัทฯ รับประกันผลงานจากการใช้งานทั่วไปตามวิสัยของการใช้ถนน โดยไม่สามารถรับประกันชิ้นงานได้กรณีดังนี้

  1. มีการนำเครื่องจักรก่อสร้างที่ไม่ใช่ล้อยาง มาเคลื่อนที่บนผิวถนน อาทิเช่น รถแบคโฮ รถตีนตะขาบ รถแทรคเตอร์
  2. การมีน้ำท่วมขังบนพื้นถนนอย่างผิดธรรมชาติ เช่น อุทกภัย , ท่อประปาแตก , ถนนแช่น้ำจากปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง
  3. เนื่องจากแอสฟัลท์ไม่เหมาะกับการถูกกดทับด้วยน้ำหนักลักษณะ dead weight การนำวัสดุก่อสร้างหรือวัตถุอื่นๆมาวางกดทับในช่วงที่แอสฟัลท์ยังไม่เซ็ทตัวเช่น นั่งร้าน ขารถจักรยานยนต์ เหล็ก ขารถเครน วัสดุที่มีความแหลม จิกกด ฯลฯ จะทำให้พื้นเป็นรอยจม
  4. การขุด รื้อ ตัด พื้นถนน
  5. การที่ผิวถนนแอสฟัลท์เลอะคราบสีต่างๆจากวัสดุอื่น แต่หากมี สามารถแก้ไขได้โดยนำยางน้ำดิบมาเคลือบบนผิวถนนอีกครั้งเพื่อให้ถนนกลับมาเป็นสีดำ
  6. การเลือกใช้เม็ดหิน (gradation) ของโครงการ โดยขัดแย้งกับการใช้งานจริง โดยไม่รับฟังข้อขัดแย้งจากบริษัทฯ อาทิเช่น เลือกใช้เกรดละเอียดฝุ่นสำหรับทำสนามกีฬา มาใช้บนลานจอดรถตู้คอนเทนเนอร์
  7. การทรุดตัวโดยธรรมชาติของชั้น subbaseพื้นทรุดตัวตามธรรมชาติ

 

 

Visitors: 19,803